แสงแดดกับบ่อปลาคาร์ฟ
05 Dec, 2019 / By
waterproth
แสงแดดมีความสำคัญกับบ่อปลาคาร์พมากที่สุดอย่างหนึ่ง
บ่อปลาคาร์พต้องมีแสงแดดส่องลงในบ่อให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะแสงแดด เป็นแหล่งวิตามิน D ของปลา โดยเฉพาะสีแดงของปลาจะแดงสดใส บ่อที่มีหลังคาคลุมปลาไม่ โดนแสงแดดสีแดงของปลาจะซีดจางไปเรื่อยๆ แสงแดดทำให้นิเวศวิทยาในบ่อปลาคาร์พสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ เมื่อมีน้ำ มีแสงแดด มีปลา เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกมาจุลินทรีย์จะย่อยสลายให้เป็นปุ๋ยไนเตรท เมื่อมีปุ๋ยไนเตรท มีน้ำและแสงแดด ในบ่อปลาก็จะเกิดพืชน้ำจำพวกสาหร่ายเซลเดียวหรือหลายเซล ตามผนังบ่อ พื้นบ่อหรือแขวนลอยอยู่ในน้ำ มาใช้ปุ๋ยไนเตรท สาหร่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ่อปลาคาร์พจะใช้แสงแดดในการปรุงอาหารหรือเรียกว่า การสังเคราะห์แสง เมื่อเกิดสาหร่ายเซลเดียวหรือหลายเซลหรือตะใคร่น้ำ เหล่านี้ก็จะเกิดแหล่งอาหารธรรมชาติของปลาคาร์พอีกแหล่งหนึ่ง นอกเหนือจากอาหารเม็ดที่เราให้กับปลาคาร์พ มีความจำเป็นมากที่ปลาคาร์พจะต้องได้กินตระใคร่น้ำหรือสาหร่ายต่างๆ เพราะตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายต่างๆ เป็นแหล่งรวมของสารอาหารและวิตามิน บางอย่างที่เราไม่สามารถใส่ลงไปในอาหารเม็ดลอยน้ำได้ โทษของแสงแดดมีเพียงประการเดียว คือ สำหรับบ่อที่ตื้น เช่น ความลึกของบ่อปลาน้อยกว่า 1 เมตร น้ำในบ่อจะร้อน อาจเกิดอันตรายกับปลาได้ ส่วนเรื่องน้ำเขียวจะได้กล่าวในตอนต่อไป
ปัญหาน้ำเขียวในบ่อปลาคาร์ฟ
จากที่กล่าวอยู่ตอนก่อนกว่า เมื่อมีน้ำ มีอาหารพืช คือ ปุ่ยไนเตรทหรือแอมโมเนีย มีแสงแดดก็จะเกิดพืชน้ำ โดยธรรมชาติ ในบ่อน้ำธรรมชาติหรือบ่อปลาคาร์พ ก็มีสภาพเหมือนกัน คือ น้ำจะเขียว น้ำเขียวเกิดจากขบวนการของธรรมชาติ โดยเกิดสาหร่ายเซลเดียวสีเขียวแขวนลอยอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำเขียว น้ำเขียวเป็นขบวนการของธรรมชาติ ที่จะทำสะอาดจนสิ่งที่ชีวิตอาศัยอยู่ได้ โดยการใช้พืชมาทำการใช้สารที่สิ่งมีชีวิต เช่น ปลาขับถ่ายออกมา เช่น แอมโมเนีย ยูเรีย เป็นต้น สำหรับบ่อปลาคาร์พ เมื่อท่านสร้างบ่อใหม่ๆบ่อปลาของท่านจะเกิดน้ำเขียวระยะหนึ่ง ประมาณ 30-180 วัน แล้วแต่คุณภาพของบ่อกรอง
ถ้าบ่อกรองใหญ่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของบ่อเลี้ยงก็จะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ถ้าบ่อกรองเล็ก เช่น 30 เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่าก็อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 6 เดือน หรือมากกว่านี้
บ่อปลาคาร์พที่สร้างใหม่ น้ำจะเขียวไปสักระยะหนึ่ง เพราะจะเกิดสาหร่ายเซลเดียว มาใช้ปุ๋ยไนเตรทที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในระบบการกรองที่กล่าวมาข้างต้น ต่อมาที่ผนังบ่อเลี้ยงปลา พื้นบ่อเลี้ยงปลาจะเกิดตะไคร่น้ำ หรือสาหร่ายเซลขึ้นมา ตะไคร้น้ำหลายเซลเกิดขึ้นที่ผนังบ่อ และพื้นบ่อ จะไปแย่งปุ๋ยไนเตรทกับพวกสาหร่ายเซลเดียว ตัวการที่ทำให้น้ำเขียว เมื่อตะใคร่หลายเซลเพิ่มมากขึ้นๆ ก็จะทำให้สาหร่ายเซลเดียวตัวการที่ทำให้น้ำเขียวขาดอาหารจนหายไปในที่สุด น้ำในบ่อปลาของท่านก็จะใสสมความตั้งใจ
- แหล่งที่มา : http://fancyfishvichit.com/
- บทความ : ผู้นำเข้าปลาแฟนซีคาร์พ สายพันธุ์ดีจากฟาร์มคุณภาพประเทศญี่ปุ่น
- ภาพ : Oase